การเลือกหมอน สำหรับคนนอนกรน

มีใครที่ใช้หมอนใบเดิมตั้งแต่เด็กกันๆหรือเปล่าคะ ? อาจจะมีแต่คงน้อยแน่ๆใช่หรือไม่คะ เพราะร่างกายและสรีระของเราที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หมอนจำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมด้วย  หากหมอนที่นอนทำให้เราต้องตื่นมาเปลี่ยนท่าไปมาทั้งคืนเพราะเมื่อย นั่นคือเรื่องที่เราต้องใส่ใจหาหมอนที่เหมาะและนอนสบายมาเป็นอุปกรณ์การพักผ่อนของเราได้เลยค่ะ

          กระดูกสันหลังของเราโค้งเป็นรูปตัว S โดยเฉพาะช่วงคอ แต่ละช่วงคอคนเราไม่เท่ากันดังนั้นการเลือกหมอนจะต้องลองนอนจริงๆ แล้วหมอนที่บอกว่า สามารถลดการนอนกรนได้หล่ะ มีจริงๆหรือไม่ ? เราจะมาพูดถึงสาเหตุของการนอนกรนกันก่อนนะคะ

        นอนกรนเกิดจาก หลอดลมหักงอ อากาศจึงเข้าไปไม่เพียงพอ ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงพยายามกระชากอากาศเข้าทางปาก พอลมผ่านลิ้นไก่ จึงทำให้เกิดเสียงกรนดังขึ้นมา ซึ่งจะเป็นมากเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย ดังนั้น หมอนที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้นั้นจะต้องมี ความนุ่มที่พอดี ความสูง และ รูปร่างของหมอนต้องสัมพันธ์และพอเหมาะกับสรีระของเรา วัสดุที่ใช้ต้องมีคุณภาพ ระบายอากาศได้ดี มีความเย็นสบาย 

 !!!  แต่หมอนสำหรับลดอาการกรนนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการกรนที่ไม่อยู่ในระดับรุนแรง 

         ทำไมปัจจุบันคนเราถึงให้ความสำคัญของเลือกอุปกรณ์ในการนอน เพราะ เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของวัน สำหรับการพักผ่อนเลยทีเดียว ยิ่งในเด็ก การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในการเจริญเติบโตด้วย

การนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว แนะนำให้รีบมาตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อวางแผนการรักษาอาการกรน ปัจจุบันนอนกรนเป็นเรื่องที่รักษาได้ง่ายมากด้วยการใส่เครื่อง CPAP นอกจากเราได้สุขภาพการนอนที่ดีกลับมากแล้ว ยังทำให้มีจิตใจแจ่มใสสติปัญญาเฉียบแหลม ไม่มีโรคเบาหวาน ความดันถามหา และได้ชีวิตครอบครัวที่หวานชื่นกลับมาอีกด้วย

บทความอื่นๆ

รักษาโรคนอนไม่หลับ แบบ CBT-I

รักษาโรคนอนไม่หลับ แบบไม่ใช้ยา แต่ใช้นักจิตวิทยา ด้วยวิธี CBT-I

“นอนไม่หลับ ทำไงดี?” อาการนอนไม่หลับเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในยุคนี้ ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป

อ่านเพิ่มเติม
สัญญาณอันตราย จากโรคนอนเกิน

สัญญาณอันตราย จากโรคนอนเกิน (Hypersomnia)

การนอนมากเกินไป บางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากร่างกายเหนื่อยสะสม และต้องการพักผ่อนเยอะๆ แบบที่หลายคนคิด เพราะอาจเป็นสัญญานเตือน โรคง่วงนอนมากผิดปกติ หรือโรคนอนเกิน (Hypersomnia)

อ่านเพิ่มเติม
Shopping Basket