ผู้ปกครองอาจคิดว่า ลูกนอนกรนเป็นเรื่องธรรมชาติ ใคร ๆ ก็มักจะนอนกรน แต่ที่จริงแล้ว เด็กนอนกรนอาจเกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) หรือภาวะ OSA ส่งผลทั้งต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และยังกระทบกับช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการในเด็กอีกด้วย
เราจะมาแนะนำวิธีป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แนวทางสังเกตอาการของเด็กนอนกรน แบบไหนที่เสี่ยง รวมถึงหลักการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับในเด็ก
สารบัญ
- เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร?
- ภาวะนอนกรนในเด็ก มี 2 ประเภท
- ลูกนอนกรน หากเกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายกว่าที่คิด
- เด็กนอนกรน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?
- ผลกระทบเมื่อเด็กนอนกรนร่วมกับภาวะ OSA มีอะไรบ้าง?
- วิธีสังเกตอาการ ลูกนอนกรนแบบไหน อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- แบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงภาวะ OSA ในเด็ก
- แนวทางป้องกัน ลูกนอนกรนหรือมีภาวะ OSA
- การวินิจฉัยของแพทย์ เมื่อเด็กนอนกรนร่วมกับมีภาวะ OSA
- การรักษาเด็กนอนกรนร่วมกับภาวะ OSA
- ลูกนอนกรน อยากรักษา หาหมอที่ไหนดี?
- สรุป
เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร?
เด็กนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบแคบหรือถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ ทำให้เด็กมีอาการกรนหรือหยุดหายใจ มักมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต โรคอ้วนในเด็ก จมูกอักเสบเรื้อรังเพราะภูมิแพ้ หรือโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ
ภาวะนอนกรนในเด็ก มี 2 ประเภท
- เด็กนอนกรน แต่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Primary snoring): เป็นการนอนกรนที่ก่อให้เกิดเสียงดังเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ไม่พบภาวะพร่องออกซิเจน และไม่พบการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด อย่างไรก็ตาม อาจส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เพราะทำให้เด็กนอนหลับได้ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
- เด็กนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea: OSA): เป็นการนอนกรนที่เกิดร่วมกับการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้อากาศผ่านเข้าจมูกและปากได้ไม่สะดวก และในบางช่วงอากาศไม่สามารถผ่านได้เลย เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดตามมา ถือเป็นประเภทที่มีอันตรายต่อสุขภาพของเด็กอย่างมาก
ลูกนอนกรน หากเกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายกว่าที่คิด
จากสถิติปี 2016 พบว่าเด็กทั่วโลกอายุระหว่าง 2-8 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับประมาณ 1-5% แต่ในประเทศไทย พบเด็กนอนกรนเป็นประจำ 6-8% เลยทีเดียว ยิ่งถ้าเกิดร่วมกับภาวะ OSA จะพบมากประมาณ 0.7-1.3% แปลว่า อาการนอนกรน เป็นปัญหาที่พบในเด็กได้บ่อยมากกว่าที่คิด
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า ทำให้ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในร่างกาย สมองจึงถูกปลุกให้ตื่นจากหลับลึกมาเป็นหลับตื้น เพื่อให้หายใจได้อีกครั้ง ซึ่งอาจเกิดซ้ำๆ ตลอดทั้งคืน จนทำให้มีคุณภาพการนอนหลับที่แย่ลง
ภาวะนี้จะทำให้สมองและร่างกายไม่ได้พักผ่อน และการหลั่งฮอร์โมนต่างๆจะผิดเพี้ยนไป เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว
มีการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ OSA โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เนื่องจากการนอนที่ไม่ปกติ ทำให้ไม่มีสมาธิ ส่งผลต่ออารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิด และพบพฤติกรรมที่รุนแรงในเด็ก มีผลการเรียนแย่ลง มีความฉลาดทางสติปัญญา หรือ IQ ต่ำกว่ากลุ่มเด็กปกติ และหากได้รับการรักษาภาวะดังกล่าว พบว่าผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรือกลับมาเป็นปกติได้
ดังนั้น หากลูกนอนกรนแล้วมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ปกครองควรพิจารณาพาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด
ลูกนอนกรน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?
การเกิด OSA ในเด็กอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกายวิภาค ของทางเดินหายใจส่วนต้น ตลอดจนถึงระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมทางเดินหายใจส่วนต้น
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้เด็กนอนกรนหรือมีภาวะ OSA คือ ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต รองลงมาคือโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งจะแตกต่างจาก OSA ในผู้ใหญ่ที่มักจะสัมพันธ์กับภาวะอ้วน อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวขึ้นในเด็ก
1. ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต
ภาวะนอนกรนและ OSA ในเด็กมักพบในลูกน้อยที่มีต่อมอะดินอยด์และทอนซิลที่ขยายตัวขึ้น เมื่อลูกนอนหลับ กล้ามเนื้อบริเวณช่องคอจะคลายตัวลง เป็นผลให้ช่องทางเดินอากาศบริเวณช่องปากด้านหลังตีบแคบลงเกิดเป็นเสียงกรน หรือทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจของลูกน้อยได้
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต มีสาเหตุที่พบมากที่สุด มาจากภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้น อาจมาจากพันธุกรรม การติดเชื้อ หรือการอักเสบอื่น ๆ อย่างไรก็ดี มีกรณีที่พบว่าเด็กมีต่อมทอนซิลขนาดปกติ แต่ก็ยังมีส่วนทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจระหว่างการนอนหลับได้ด้วยเช่นกัน
2. โรคอ้วนในเด็ก (Obesity)
โรคอ้วนในเด็ก ทำให้มีไขมันเข้าไปสะสมบริเวณกล้ามเนื้อของช่องทางเดินหายใจ และทำให้ช่องทางเดินหายใจตีบแคบลง ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เด็กนอนกรนหรือเกิดภาวะ OSA
* โรคอ้วน (Obesity) ได้รับการนิยามให้เป็น “โรค” โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO เนื่องจากเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อมนุษย์ และยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีกมากมาย ซึ่งภาวะนอนกรนและ OSA ก็ถือว่าเป็น 1 ในของแถม ที่มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะเด็ก ๆ
3. ปัจจัยอื่น ๆ
- พบประวัติว่าสมาชิกในครอบครัว มีภาวะ OSA
- ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือความผิดปกติของสมองอื่น ๆ
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม หรือความผิดปกติของกล้ามเนื้ออื่น ๆ
- โรคทางระบบประสาท หรือไขสันหลัง
- ความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ หรือโครงสร้างใบหน้า เช่น คางสั้น
- ปัญหาทางด้านทันตกรรม และปัญหาการจัดฟัน (Orthodontic Problems) บางชนิด เช่น สบฟันคร่อม (Crossbite)
- ภาวะดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
- มีประวัติตอนแรกเกิด ว่าน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
- มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
- กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome หรือ PWS)
- ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก (Achondroplasia)
- โรคทางพันธุกรรม ที่มีความผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น กลุ่มอาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome)
ผลกระทบเมื่อเด็กนอนกรนร่วมกับภาวะ OSA มีอะไรบ้าง?
หากเด็กนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะมีผลกระทบดังนี้
ผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก | ผลกระทบในระยะสั้น | ผลกระทบในระยะยาว |
ด้านสุขภาพกาย | – ง่วงนอนระหว่างวัน – เจ็บคอบ่อย ๆ ติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลบ่อย ๆ | – การเจริญเติบโตไม่ดี – ตัวเตี้ย – ความดันโลหิตในปอดสูง จากการขาดออกซิเจนเรื้อรังขณะหลับ หัวใจทำงานหนักอาจทำให้หัวใจวาย – อาจทำให้เด็กเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน |
ด้านสุขภาพจิต และพฤติกรรม | – ไม่อยากตื่นนอน – รู้สึกไม่สดชื่น – สมาธิสั้น อยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง | – ปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ซุกซน ก้าวร้าว – ความสามารถในการเรียนแย่ลง (IQ ต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกัน) – ความจำและความคิดที่ซับซ้อนแย่ลง – ปัญหาด้านพัฒนาการ |
ผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับของเด็กและของผู้ใหญ่อาจแตกต่างกันอยู่บ้าง ในขณะที่ผู้ใหญ่มักมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน แต่เด็กมักจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่า
วิธีสังเกตอาการ ลูกนอนกรนแบบไหน อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ช่วงกลางคืน สังเกตอะไรบ้าง?
ผู้ปกครองอาจดูได้จากอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ เด็กมีอาการนอนกรนบ่อยครั้ง หยุดหายใจ พยายามสูดหายใจ หายใจเหนื่อยหอบ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม ท้องโป่ง และมีอาการสะดุ้งตื่น ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ในช่วงกลางคืน เช่น เหงื่อออก ตื่นมาปัสสาวะตอนนอน บางรายปัสสาวะราด
ช่วงเช้า สังเกตอะไรบ้าง?
เนื่องจากภาวะ OSA อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าลูกของคุณไม่ได้นอนกรน จึงมีข้อแนะนำเพิ่มเติมให้สังเกตพฤติกรรมลูกน้อยของคุณในช่วงเช้าด้วย หากลูกของคุณตื่นนอนตอนเช้าด้วยความรู้สึกไม่สดชื่นหรือเหนื่อยล้าเป็นประจำ อาจมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ให้พามาตรวจได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องดูว่าลูกนอนกรนหรือไม่?
ระหว่างวัน สังเกตอะไรบ้าง?
เด็กที่มีภาวะ OSA มักแสดงออกมาในแง่ของอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น งอแงไม่อยากตื่นนอน (ต้องพยายามปลุกอยู่หลายครั้ง) มีภาวะอยู่ไม่สุข จดจ่อสิ่งใดไม่ได้นาน ความจำแย่ลง หรือผลการเรียนแย่ลง เป็นต้น ดังนั้น หากสังเกตว่าพฤติกรรมของเด็กผิดไปจากปกติ ก็ควรพามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจได้เช่นกัน
แบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงภาวะ OSA ในเด็ก
จากแนวทางการสังเกตข้างต้น ผู้ปกครองสามารถประเมินความเสี่ยง OSA ในเด็กได้ จากแบบทดสอบนี้
วิธีการให้คะแนน: ระดับคะแนนที่ประเมิน จะเป็นความถี่ของอาการ/ภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็ก ได้แก่
1 – ไม่เกิดขึ้นเลย, 2 = แทบไม่เกิดขึ้น, 3 = เกิดขึ้นน้อยมาก, 4 = เกิดขึ้นบ้างบางครั้ง,
5 – เกิดขึ้นบ่อยพอควร, 6 = เกิดขึ้นบ่อยมาก, 7 = ตลอดเวลา
ประเมินให้ใกล้เคียงกับความบ่อยของอาการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกของท่าน ตามตารางด้านล่างนี้ แล้วรวมคะแนนที่ได้ทั้งหมดที่ได้ ยิ่งมีค่าสูง ยิ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของเด็กที่สัมพันธ์กันกับระดับความรุนแรงของภาวะ OSA ในเด็ก
อาการของลูกขณะนอนหลับในระหว่าง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา |
|||||||
ลูกของท่านเกิดอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ? |
คะแนน |
||||||
…นอนกรนเสียงดัง ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…มีหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
..สำลักหรือสะดุ้งเฮือกขณะหลับ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…นอนกระสับกระส่ายหรือสะดุ้งตื่นบ่อยๆ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
อาการทางร่างกายของลูกขณะตื่นในระหว่าง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา |
|||||||
ลูกของท่านเกิดอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ? |
คะแนน |
||||||
…หายใจทางปากเพราะหายใจทางจมูกไม่สะดวก ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…เป็นหวัดหรือเป็นโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นบ่อยๆ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…น้ำมูกไหล ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…กลืนอาหารลำบาก ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
อาการทางอารมณ์และจิตใจของลูกในระหว่าง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา |
|||||||
ลูกของท่านเกิดอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ? |
คะแนน |
||||||
…อารมณ์แปรปรวน หรือ กรีดร้องเวลาไม่ได้ดั่งใจ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ก้าวร้าว หรือ ซุกซนมากผิดปกติ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ควบคุมยากเอาแต่ใจ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
พฤติกรรมของลูกขณะตื่นในระหว่าง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา |
|||||||
ลูกของท่านเกิดอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ? |
คะแนน |
||||||
…ผล็อยหลับเวลากลางวัน ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ขาดสมาธิหรือสมาธิสั้น ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ปลุกตื่นยากในตอนเช้า ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
ความห่วงใยของท่านต่อตัวลูกในระหว่าง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา |
|||||||
ท่านมีปัญหาต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน |
คะแนน |
||||||
…รู้สึกเป็นห่วงสุขภาพทั่วไปของลูก ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…รู้สึกเป็นห่วงกับลูกจะหายใจได้ไม่เพียงพอหรือขาดอากาศหายใจ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ความกังวลที่เกิดขึ้นนั้นรบกวนจนทำให้ท่านไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
…ท่านรู้สึกหงุดหงิดกับปัญหาที่เกิดขึ้น ? |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
แบบสอบถามเพื่อวัดคุณภาพชีวิต เพื่อประเมินภาวะการหายใจผิดปกติขณะหลับ
หมายเหตุ แบบสอบถามนี้ใช้ประโยชน์ในการประเมินคุณภาพชีวิต ติดตามอาการของผู้ป่วยว่าดีขึ้นหรือแย่ลง และช่วยประเมินความรุนแรงของภาวะ OSA ในเด็ก แต่ไม่ใช่แบบทดสอบเพื่อการวินิจฉัยภาวะ OSA
แนวทางป้องกัน ลูกนอนกรนหรือมีภาวะ OSA
แนวทางการป้องกัน และแนวทางการรักษาเบื้องต้นโดยการปรับพฤติกรรมของเด็ก จะมีลักษณะคล้ายกัน เพราะมีจุดประสงค์เพื่อลดสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกรน หรือเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ระวังอย่าให้ลูกของคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
สำหรับเด็กที่ยังมีน้ำหนักตัวไม่มากหรือเกินเกณฑ์มาเล็กน้อย ผู้ปกครองควรวางแผนปรับนิสัยการใช้ชีวิตประจำวันของลูกน้อยดังนี้
- ให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมูและได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับวัย
- สำหรับเด็กที่เริ่มมีภาวะอ้วน ให้คุมอาหาร อาจขอคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการที่เชี่ยวชาญด้านการคุมอาหารสำหรับเด็ก
- แนะนำกิจกรรมการละเล่นต่าง ๆ หรือพาเด็กออกกำลังกาย เพื่อให้เขาได้ใช้พลังงานในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กกลับมามีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ปกติอีกครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการตีบตันของช่องคอที่มาจากการสะสมของไขมันได้
ลดความเสี่ยงโอกาสเกิดภูมิแพ้
ผู้ปกครองควรดูแลรักษาความสะอาดของห้องนอนและเครื่องนอนของเด็ก หรือหากเด็กโตหน่อย อาจฝึกฝนให้เขารับผิดชอบการดูแลข้าวของเครื่องใช้ของตน เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และของใช้ในห้องนอน อาจกำหนดช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนหรือนำไปซักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ และป้องกันเชื้อโรคที่มีกับฝุ่น
เสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการนอนหลับ 10 ประการสำหรับเด็ก (Sleep Hygiene)
ผู้ปกครอง ควรกระตุ้นสุขนิสัยที่ดีในการเข้านอนของลูกน้อยให้เป็นนิสัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับของเด็กและถือเป็นบันไดขั้นแรกในการจัดการปัญหาการนอนหลับของเด็กอีกด้วย โดยหลักปฏิบัติที่สำคัญ มีดังนี้
- เข้านอนให้ตรงเวลา ไม่ควรเกิน 3 ทุ่ม
- ทำกิจวัตรในแต่ละวันให้ตรงเวลา เช่น ทานอาหารเย็นให้ตรงเวลา ควรทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง คือ 6 โมงเย็น
- สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรให้นอนกลางวันด้วย
- ให้ออกกำลังกายกลางแจ้ง
- พยายามรับแสงเยอะ ๆ ตอนเช้าและตอนกลางวัน และหลีกเลี่ยงแสงสว่างตอนกลางคืน เนื่องจาก “แสงอาทิตย์หรือแสงไฟ” จะมีผลต่อวงจรของระบบการทำงานในร่างกาย โดยเฉพาะความรู้สึกง่วงและการนอนหลับ
- ให้เด็กใส่ชุดสบาย ๆ เวลาเข้านอน และห้องนอนควรมืด เย็น และเงียบ
- ไม่ทานอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแลต ชา กาแฟ
- ไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน เนื่องจากเนื้อหาต่าง ๆ ในอุปกรณ์ รวมถึงแสงสีฟ้า อาจกระตุ้นให้เด็กตื่นเต้นจนไม่รู้สึกง่วง
- นอนตามจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมกับอายุ
- พยายามฝึกเข้านอนด้วยตนเองจนติดเป็นนิสัยและทำให้ได้ทุกวัน
การวินิจฉัยของแพทย์ เมื่อเด็กนอนกรนหรือมีภาวะ OSA
เบื้องต้นแพทย์จะประเมินความรุนแรงอาการ โดยดูจากประวัติของเด็กและคนในครอบครัว และตรวจดูบริเวณศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก และช่องปาก ปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ
นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาสั่งตรวจ X-ray บริเวณศีรษะเพื่อดูโครงสร้างของกะโหลกศีรษะ ความกว้างของทางเดินหายใจ และดูขนาดของต่อมอะดีนอยด์ว่ามีการโตหรือไม่?
อย่างไรก็ตาม หากมีการตรวจการนอนหลับ (sleep test) ด้วยแล้ว จะช่วยให้การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของระหว่างนอนหลับของเด็ก มีความแม่นยำและละเอียดมากขึ้น
การตรวจการนอนหลับ (sleep test) เมื่อเด็กนอนกรน
หากพบว่าเด็กนอนกรน ควรได้รับการตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างที่เด็กนอนหลับ โดยใช้เครื่องมือแพทย์ที่สามารถวัดค่าต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด การหายใจ คุณภาพการนอนหลับ และอื่น ๆ ผู้ปกครองสามารถเลือกทำ sleep test ได้ทั้งที่ศูนย์ตรวจการนอนหลับหรือแม้แต่ที่บ้าน ตามความสะดวกและความเหมาะสม
ที่ กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ เรามีบริการ ตรวจวินิจฉัยการนอนหลับแบบ Full sleep test ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ดูรายละเอียดบริการของเราได้ที่นี่ https://www.bkksleepcenter.com/BSC-services
การตรวจการนอนหลับสามารถทำได้ในทุกเพศทุกวัยหรือไม่?
การตรวจการนอนหลับสามารถส่งตรวจได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอายุ อย่างไรก็ตามการตรวจผู้ป่วยเด็กทารกจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีขนาดเล็กสำหรับทารก มีเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่ชำนาญในการแปลผลการตรวจของเด็กเล็ก ซึ่งสามารถทำได้ในห้องตรวจบางแห่งเท่านั้น
ผู้ปกครองควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนตัดสินใจ สามารถอ่านข้อมูลการตรวจ sleep test ได้ที่นี่ https://www.bkksleepcenter.com/Sleep-test
การรักษาลูกนอนกรนและภาวะ OSA
การพิจารณาการรักษาภาวะ OSA ในเด็กนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และความรุนแรงของโรค ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับในเด็ก เพื่อทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
- การผ่าตัดเอาต่อมทอนซินและต่อมอดีนอยด์ออก เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง ในโดยเฉพาะกรณีที่เด็กที่มีภาวะ OSA ที่มาจากสาเหตุของต่อมทอนซิลและเหนือต่อมอะดีนอยด์โต
- การรักษาด้วยยา เช่น ยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล หรือการให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือ ซึ่งอาจช่วยลดอาการของ OSA ได้ชั่วคราว ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีความรุนแรงของภาวะ OSA น้อย ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดต่อมทอนซิน หรือต่อมอะดีนอยด์ได้
- เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เป็นการรักษาที่ได้ผลดีในเด็กโต ไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัด ใช้รักษาในเด็กที่ไม่ต้องการผ่าตัด เด็กที่มีภาวะอ้วน เป็นโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือเด็กที่ได้รับการผ่าตัดแล้วยังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอยู่ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาภาวะ OSA ในเด็ก
- การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การให้ออกซิเจนขณะหลับ การรักษาด้วยอุปกรณ์ทันตกรรม หรือรักษาด้วยวิธีการขยายขากรรไกรและเพดานปากให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ อาจมีข้อจำกัดในการรักษาผู้ป่วยเด็กเฉพาะราย และบางการรักษาในผู้ป่วยเด็กยังมีจำกัด ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจิฉัยและพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ลูกนอนกรน อยากรักษา หาหมอที่ไหนดี?
หากไม่แน่ใจว่าลูกนอนกรนแล้วมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่? ควรพาลูกไปตรวจการนอนหลับอย่างละเอียด โดยเลือกสถานที่ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับในเด็กโดยเฉพาะ มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและเป็นไปตามมาตรฐาน
นอกจากนี้ ควรเลือกสถานที่ตรวจ ที่ช่วยให้เด็กผ่อนคลาย บรรยากาศไม่ดูซีเรียสจริงจังเกินไป เพราะยิ่งเด็กได้นอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ ยิ่งส่งผลดีต่อการตรวจ
บรรยากาศของ sleep lab กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์: เราเลือกที่จะทำสถานที่ และบรรยากาศของ sleep lab ให้แตกต่างจากสถานที่ตรวจแบบดั้งเดิมที่ดูเป็นทางการเหมือนโรงพยาบาล โดยเน้นสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวและทำให้ความรู้สึกสบายใจ ห้องที่ทำการตรวจ sleep test ก็เป็นห้องพักแยกและมีความเป็นส่วนตัว โดยผู้ปกครองสามารถเข้ามานอนค้างกับเด็กได้อย่างสะดวกสบาย
สรุป
สุขภาพกาย สุขภาพใจ และพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย มาจากคุณภาพชีวิตที่ดีของเขาในแต่ละวัน ทั้งช่วงเวลากลางวัน ที่เขาจะได้ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนรู้ ไปจนถึงช่วงเวลากลางคืน ที่เขาจะได้นอนหลับพักผ่อนและฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ การนอนหลับที่มีคุณภาพของลูกน้อยในยามค่ำคืน จึงสำคัญไม่แพ้ในช่วงเวลากลางวัน
ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ ศึกษาถึงปัญหาและ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลูกนอนกรน พร้อมหาแนวทางป้องกันและรักษา หากพบความผิดปกติต่าง ๆ ของลูกระหว่างนอนหลับ จะได้รีบพาไปรับการตรวจรักษาได้ทันท่วงที ให้ลูกน้อยของคุณได้กลับมานอนหลับฝันหวานได้อีกครั้ง
“จุดเริ่มต้นของวันใหม่ที่ดี เริ่มต้นจากการนอนหลับตั้งแต่เมื่อคืน”
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ยินดีให้บริการ และพร้อมให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหานอนกรน แก้อาการนอนกรน ผู้หญิง-ผู้ชาย พร้อมบริการรักษาภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) โดยการใช้เครื่อง CPAP เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก โดยแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Sleep Medicine และเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพ และเป็นกันเอง ในบรรยากาศที่พักส่วนตัวที่เงียบสงบ และร่มรื่น
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์
ศศูนย์ Sleep lab ที่ให้การตรวจการนอนหลับ (sleep test) ของคุณ
เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง
โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687