ถ้าพูดถึงอาการผีอำ หลายคนคงนึกไปถึงเรื่องไสยศาสตร์ ตามความเชื่อที่ว่าเกิดจากมีวิญญาณมาหลอกหลอน นั่งกดทับตัวเวลานอนทำให้ลุกไม่ขึ้น ขยับตัวไม่ได้ แต่แท้จริงแล้ว อาการผีอำ ไม่ได้เกิดจากภูตผีหรือพลังงานลี้ลับตวามความเชื่อ แต่ผีอำ เป็นอาการผิดปกติจากการนอนหลับชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Sleep Paralysis
ผีอำ (Sleep Paralysis) หรือภาวะอัมพาตขณะนอน เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ได้ ช่วงเวลาในการเกิดอาการจะเป็นช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น อาการเบื้องต้นคือจะรู้สึกอึดอัด พูดไม่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง บางคนถึงขั้นรู้สึกทุรนทุรายและเกิดความหวาดกลัว
อาการผีอำ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- เกิดขึ้นช่วงใกล้หลับ (Predormital Sleep Paralysis) อาการผีอำที่เกิดขึ้นช่วงเวลานี้ จะเป็นเพียงการขยับตัวไม่ได้ หรือพูดไม่ได้เท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลาย
- เกิดขึ้นช่วงใกล้ตื่น (Postdormital Sleep Paralysis) คนส่วนใหญ่มักจะเกิดผีอำในช่วงเวลานี้ จะมีอาการสะดุ้งตื่น รู้สึกตัวในขณะที่ช่วงหลับฝันยังไม่สิ้นสุดลง ประกอบกับมีอาการแน่นหน้าอก อึดอัด และขยับร่างกายไม่ได้ พูดไม่ได้ กินเวลาประมาณ 5-10 นาที
อาการผีอำไม่ใช่เรื่องราวทางไสยศาสตร์หรือเรื่องลี้ลับที่พิสูจน์ไม่ได้ เพราะมีผลวิจัยทางการแพทย์ บอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ไว้มากมาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผีอำ ได้แก่
- การนอนหลับที่ไม่ดี นอนหลับไม่พอ หรือนอนไม่หลับ เป็นระยะเวลานาน การนอนที่ผิดปกติเหล่านี้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดมีผีอำขึ้นมาได้
- ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด หรือผู้ป่วยสภาวะอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถเป็นสาเหตุในเรื่องนี้ได้
- ผลจากการประกอบอาชีพ ที่ต้องเปลี่ยนช่วงเวลาทำงานอยู่เสมอ อยู่เวรดึกสลับเวรเช้า ต้องนอนเช้ามากกลางคืนบ้าง หรือนอนแบบเปลี่ยนไทม์โซนบ่อยๆ
- การใช้ยารักษาโรคบางชนิด ที่ทำให้การนอนไม่ปกติ และไม่เป็นธรรมชาติ
ส่วนการป้องกันอาการผีอำ สามารถทำได้ด้วยการสร้างหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงทุกคนใส่ใจให้มากขึ้น
ไม่ต้องสวดไล่ผี ก็ป้องกันอาการผีอำได้ ดังนี้
- งดดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ก่อนนอน
- จัดตารางเวลาการนอนหลับให้ดี และพยายามนอนหลับให้ตรงเวลา
- นอนหลับให้เพียงพอที่ร่างกายต้องการประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอน ด้วยกิจกรรมเบาๆ
- จัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก รู้สึกสบายทุกครั้งที่ล้มตัวลงนอน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในช่วงใกล้เวลาเข้านอน
บทส่งท้าย
ส่วนคนที่เกิดภาวะผีอำอยู่เป็นประจำ อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะอาจจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อทำการตรวจ Sleep Test ทดสอบดูว่าเวลานอนหลับแล้วร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการวางแผนรักษาต่อไป
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ยินดีให้บริการ และพร้อมให้คำปรึกษาวิธีแก้นอนกรน แก้อาการนอนกรน ผู้หญิง-ผู้ชาย พร้อมบริการรักษาภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) โดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) โดยแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Sleep Medicine และเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพ และเป็นกันเอง ในบรรยากาศที่พักส่วนตัวที่เงียบสงบ และร่มรื่น
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์
ศูนย์ตรวจรักษาภาวะนอนกรน และนอนไม่หลับ
เพื่อให้การนอนของคุณ เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง
โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687