ในวิกฤตการระบาดของโควิด-19 อีกหนึ่งอาการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเผชิญคือ ปัญหาการนอนไม่หลับ แม้จะไม่ใช่อาการหลักของโรค แต่ก็สามารถค่อยๆ ปั่นทอนร่างกายเราทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนสาเหตุจะมาจากอะไร และมีวิธีรับมืออาการนอนไม่หลับ จากภาวะของโควิด-19 ได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

ข้อมูลสถิติจากผู้คนทั่วโลกพบว่า มีคนจำนวนถึง 40% ที่รายงานว่าประสบปัญหานอนยากในช่วงโรคระบาด และมีการคาดการณ์ว่ามีผู้คนประมาณ 36% เป็นกลุ่มอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ในช่วงแรกของการระบาดของ โควิด-19 (COVID-19) นอกจากนี้ปัญหาการนอนยังเป็นผลกระทบระยะยาว โดยมีข้อมูลสนับสนุนคือ ผู้คนมากถึง 31% ที่มีอาการ Long COVID มีประสบการณ์การนอนที่เปลี่ยนแปลงไป
จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การนอนหลับไม่เพียงพอหรือนอนไม่หลับ เป็นผลกระทบด้านสุขภาพอีกอย่างหนึ่งของโรคโควิด-19 และผลกระทบนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการนอนที่ไม่ได้คุณภาพไม่ได้ส่งผลเสียเพียงเรื่องสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย
สาเหตุอาการนอนหลับในผู้ป่วยโควิด-19
- เชื้อโรคโควิด-19 อาจทำให้สมองอักเสบได้ง่ายขึ้น หรือมีหลอดเลือดสมองอุดตันจากการที่เลือดมีการแข็งตัวง่ายกว่าปกติ ส่งผลไปถึงเรื่องการนอนหลับ
- ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
- ความวิตกกังวลจากอาการเจ็บป่วย และเครียดที่ต้องกักตัว หรือแยกตัวรักษาอยู่คนเดียว
- อาการนอนไม่หลับจากโรคแทรกซ้อนกลุ่มอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า สภาวะเครียด ปวดไมเกรน เป็นต้น
อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งอาการที่น่าเป็นห่วง เพราะการนอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่ปกติต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน

ผลเสียจากการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโควิด-19
- ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน ที่เป็นภาวะเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น
- เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และมีความวิตกกังวลได้ในทุกๆ เรื่อง
- มีโอกาสส่งผลเสียและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด
- สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนงง ขาดสมาธิในการทำงาน และการทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
- มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย เหวี่ยงวีนง่าย ประกอบกับความเครียดจากการป่วย ยิ่งทำให้อาการแย่ลง
แม้ว่าภาวะนอนไม่หลับในผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อาจไม่ใช่ภาวะเรื้อรัง และอาจสามารถหายได้เองเมื่อปัจจัยเรื่องอาการป่วยหายไป แต่ก็ประมาทไม่ได้ที่อาจกลายเป็นอาการในระยะยาว การรู้ทันอาการของโรคนอนไม่หลับ และดูแลสุขภาพด้านการนอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น

วิธีดูแลสุขภาพในการนอนหลับในผู้ป่วยโควิด-19
- ปรับเวลาการนอนให้ตรงกันทุกวัน พยายามปรับตัวให้เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำ
- ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจด้วยการ ฟังเพลง ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ ก่อนนอน
- จัดระเบียบและบรรยากาศห้องนอนให้ดูผ่อนคลาย โล่งสบาย ไม่ให้รู้สึกหดหู่ หรืออึดอัด
- ถ้านอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อขอคำแนะนำหรือหาทางรักษา
อาการนอนไม่หลับเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่ปกติต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด ระบบภูมิคุ้มกันประสิทธิภาพลดลง ยิ่งถ้าเราป่วยอยู่ด้วย ก็จะทำให้ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า
บทส่งท้าย
สำหรับผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ที่พยายามปรับพฤติกรรมการนอนหลับแล้ว แต่ก็ยังประสบปัญหาการนอนไม่หลับอยู่ จนกลายเป็นภาวะเครียดที่กลัวจะเกิดอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ด้านการนอนหลับ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ศูนย์ตรวจ และรักษาภาวะนอนกรน และการนอนหลับที่ผิดปกติ ยินดีให้บริการ และพร้อมให้คำปรึกษาวิธีแก้นอนกรน แก้อาการนอนกรน ผู้หญิง-ผู้ชาย รักษาอาการกรน พร้อมบริการรักษาภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) โดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) โดยแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Sleep Medicine และเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพ และเป็นกันเอง ในบรรยากาศที่พักส่วนตัวที่เงียบสงบ และร่มรื่น
กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์
ศูนย์ Sleep lab ที่ให้การตรวจการนอนหลับ (sleep test) ของคุณ
เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง
โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687