คุณภาพการนอนไม่ดี ส่งผลอะไรบ้าง

คุณภาพการนอนไม่ดี ส่งผลอะไรบ้าง

ความสำคัญของการนอนหลับ

การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง แม้กระทั่งจิตใจ โดยเราจะสังเกตได้ว่า วันใดก็ตามที่เราอดนอน สมองจะไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก มักใช้เวลานานกว่าปกติในการทำอะไรก็ตาม ส่วนเรื่องอารมณ์ก็ไม่ค่อยจะปกตินัก โดยอาจมีเรื่องไม่เข้าใจกันกับคนในบ้านโดยไม่สมเหตุสมผล

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับ

การนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่แค่จำนวนชั่วโมงในการนอน ความลึกของการนอนหลับกับเวลาที่เข้านอนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆบางคนอาจเคยสังเกตว่า ถึงแม้จะนอนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ แต่ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ กลิ่งไปกลิ่งมาทั่งคืน ตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องการนอน

ระยะเวลาในการนอน (duration)

โดยทั่วไประยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุแล้ว ยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเด็กต้องการระยะเวลา
– (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
– เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน
– เด็ก (อายุ 1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยรุ่น (18-25 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยทำงาน (26-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
– วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

คุณภาพของการนอน (quality)

        ถ้าคนเรานอนหลับไม่ลึกพอ โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สดชื่นเวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า (unrested sleep) ระบบความจำอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้จำอะไรที่เรียนรู้มาไม่ค่อยได้ดีนัก

เวลาเข้านอน-ตื่นนอน (sleep-wake time)

        บางคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย เช่น นอนดึกตื่นสายช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนในวันที่เริ่มทำงาน

        ในช่วงต้นของสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันจันทร์ เนื่องจากจะต้องปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้น โดยอาจส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในช่วงเวลาทำงาน

        ในตอนกลางวัน และ ถ้าในวันนั้นง่วงมากทนไม่ไหวจนต้องนอนหลับในช่วงเย็นก็อาจมีผลให้นอนไม่ค่อยหลับในคืนนั้น

อาการของการนอนหลับผิดปกติ (sleep symptoms)

นอนกรน (Snoring) ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย (primary snoring) อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อย Obstructive sleep apnea ชึ้งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่นๆ

หยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยากถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) ควรมีคนนอนข้างๆค่อยสังเกตให้

ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination) โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้ดังกล่าวหยุดหายใจ ซึ้งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea เอง ก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ

ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)เนื่องจาก ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่าย carbon dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้ เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะซึ้งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้าๆ

ขาขยุกขยิก (Restless Legs) จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่นๆ

ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness) เป็นอาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleepfragmentation) ซึ่งสามารถเกิดได้ในโรคต่างๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่นๆ
Cognitive Dysfunctions นอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 

การรักษาอาการและโรคการนอนหลับผิดปกติ (Treatment)

     ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคการนอนหลับผิดปกติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินิจฉัยสาเหตุของโรค และรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตามความผิดปกติ

บางอย่าง นอกจากต้องรักษาที่สาเหตุแล้ว ยังอาจต้องการรักษาที่ตัวอาการด้วย อาการดังกล่าวได้แก่ อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia)

การรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับมีหลักการเหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ โดยแบ่งเป็น

  –   การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic therapy)

  –   การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacologic therapy)

หรืออาจสามารถแบ่งเป็น

  –   การรักษาที่สาเหตุ (specific treatment)

  –   การรักษาอี่นๆ ร่วมด้วย (supportive treatment)

ในขณะที่ได้รับการรักษา สิ่งที่สำคัญพอๆกันคือความสม่ำเสมอของการรักษา (treatment compliance) และการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

(regular follow-up) ยกตัวอย่างเช่น การรักษาคนไข้ obstructive sleep apnea ด้วย positive airway pressure therapy ได้แก่ CPAP

ปัญหาที่สำคัญคือคนไข้ส่วนหนึ่งไม่ค่อยรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (non-adherence) เนื่องจากเหตุใดก็ตาม เช่น คนไข้บางคนรู้สึกอึกอัด

ในขณะสวมหน้ากากของเครื่อง CPAP จึงไม่ใช้เครื่อง CPAP อีกต่อไป โดยไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น เปลี่ยนชนิดของหน้ากาก

ให้เหมาะสม หรือ ในบางคนการสวมหน้ากากก่อนนอนระยะหนึ่งโดยยังไม่เปิดเครื่อง CPAP สามารถช่วยให้คนไข้รู้สึกคุ้นเคยกับสภาวะดังกล่าว

ในขณะที่นอนหลับโดยเครื่อง CPAP กำลังทำงาน

บทความอื่นๆ

ลูกนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายแค่ไหน ต้องรักษาอย่างไร?

แนะนำสาเหตุและอาการของภาวะนอนกรนในเด็ก สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ พร้อมแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

อ่านเพิ่มเติม
Shopping Basket