รักษานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
ทำไมเราถึงนอนกรน
“นอนกรน” คืออาการของคนที่นอนหลับแล้วหายใจมีเสียงดัง ครอก… ฟี้…. ภาวะนี้เกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอและโคนลิ้น ตีบแคบลงขณะที่นอนหลับสนิท ทำให้ทรวงอกต้องออกแรงหายใจเข้าและหายใจออกมากขึ้น เพื่อสูดอากาศให้ผ่านช่องคอที่ตีบแคบ เกิดเป็นแรงสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อ บริเวณช่องคอ ดังเป็นเสียงกรน
การนอนกรนในผู้ใหญ่มักพบได้บ่อยในคนที่มีน้ำหนักมาก ลำคอสั้น มีไขมันพอกบริเวณช่องคอ
หรือผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ และมักจะมีเสียงกรนดังมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ส่วนในเด็กมักเกิดจากต่อมทอลซิลและอดินอยด์ที่โตขึ้น
นอนกรนอันตรายหรือไม่
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการนอนกรนเป็นบุคลิกการนอนเฉพาะตัวของคน ๆ นั้น อาจจะเพียงแค่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่นอนด้วย
แต่มีหลักฐานทางการระบุแพทย์ชัดเจนแล้วว่า ผู้ที่นอนกรนเสียงดัง มักมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้นอนหลับไม่สนิท สมองและร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับคืออะไร
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณช่องคอคลายตัวลงขณะที่นอนหลับสนิท กล้ามเนื้อเหล่านี้ ได้แก่ เพดานอ่อนที่ด้านหลังช่องปาก ลิ้นไก่ ต่อมทอลซิล และโคนลิ้น เมื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อคลายตัวถึงจุดหนึ่ง ช่องทางเดินหายใจ ที่ลำคอจะถูกปิดสนิททำให้อากาศไม่สามารถไหลผ่านเข้า-ออกได้ เกิดเป็นภาวะหยุดหายใจขึ้นนานครั้งละ 10 วินาที -30 วินาที
ภาวะนี้ทำให้ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในร่างกาย สมองจึงถูกปลุกให้ตื่นจากหลับระดับลึก-มาเป็นหลับระดับตื้น เตือนกล้ามเนื้อบริเวณลำคอให้เกร็งตัวเพื่อให้เปิดทางเดินหายใจขึ้นอีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เราเสียชีวิต
หากเกิดช่วงเวลาสั้นๆ เรามักจะไม่รู้สึกตัว แต่หากเกิดนานขึ้น ร่างกายจะกระตุก สะดุ้งตื่น ภาวะนี้มักเกิดซ้ำๆกันได้ตั้งแต่ 5 ครั้งต่อชั่วโมง ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมง เกิดซ้ำๆตลอดทั้งคืน
เราสามารถสังเกตอาการของคนที่เป็นได้ว่า มักจะนอนกรนและมีเสียงหยุดกรนเป็นระยะๆ (ตอนหยุดหายใจ) และกลับมากรนใหม่ มีอาการสำลักหรือพลิกตัว เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
แต่ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวและเข้าใจว่าตนเองนอนได้ดีทั้งคืน หากสงสัยว่าจะเป็นแต่นอนคนเดียว ต้องถามคนที่นอนด้วยจะทราบได้ หรือใช้ application ในโทรศัพท์มือถือเช่น SnoreLab ในการดูในเบื้องต้น
ผลเสียของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะนี้จะทำให้สมองและร่างกายไม่ได้พักผ่อน และการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ จะผิดเพี้ยนไป เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ผลเสียระยะสั้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นซ้ำๆตลอดทั้งคืน ผู้ที่มีภาวะนี้จึงรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นเช้า มีอาการปวดหัวหรือมึนหัวตอนเช้าๆ อาการที่สังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่ง คือ มักจะรู้สึกง่วงนอนมากตอนกลางวัน อ่อนเพลีย นั่งเฉยๆ ก็หลับ ต้องดื่มกาแฟปริมาณมาก ง่วงนอนหรือหลับในขณะขับรถ
หากเป็นมานานสักระยะ ความจำและสมาธิมักจะลดลง หงุดหงิดง่ายขึ้น ความเฉียบคมทางความคิดและประสิทธิภาพในการตัดสินใจแย่ลง เป็นต้น
ผลเสียระยะยาวของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เพราะการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และฮอร์โมนอื่นๆ ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายจะเกิดได้ดีเมื่อเราหลับสนิท ความสมดุลของการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ และการทำงานของระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะนี้จึงลดลง ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน เป็นปีจึงทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วและก่อให้โรคเรื้อรังตามมา เช่น
- เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคความจำเสื่อม (อัลโซเมอร์)
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การตรวจการนอนหลับ หรือที่เรียกว่า sleep test
การตรวจการนอนหลับ (sleep test หรือ polysomnography) คือ การตรวจเช็คการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น การตรวจคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของทรวงอก การเต้นของหัวใจ ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในร่างกาย การเคลื่อนไหวของดวงตา และ แขน-ขา เป็นต้น
โดยจะมีการติดอุปกรณ์ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เฝ้าตรวจการนอนของเราตลอดทั้งคืน ความละเอียดของการนอนหลับมีหลายระดับ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การตรวจการนอนหลับสามารถตรวจได้ทั้งที่โรงพยาบาล และ ศูนย์ตรวจการนอนหลับ โดยเราจะต้องไปนอนตรวจตอนกลางคืนที่สถานที่นั้นๆ (ยกเว้นแต่ผู้ที่ติดนิสัยนอนตอนกลางวัน เช่น คนที่ทำงานตอนกลางคืน จะสามารถตรวจตอนกลางวันได้)
ผลที่ได้จากการตรวจจะได้รับการแปลผลและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และมีความรุนแรงระดับไหน สามารถใช้ค่าที่ได้จากการตรวจในการวางแผนการรักษาและติดตามการรักษา เช่น ใช้ในการปรับแรงดันลมของเครื่อง CPAP เป็นต้น
ตรวจ Sleep test ที่ไหนดี
สถานที่ตรวจ Sleep test มีในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และศูนย์ตรวจการนอนหลับ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและการใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาล
โดยจะมีการติดอุปกรณ์ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เฝ้าตรวจการนอนของเราตลอดทั้งคืน ความละเอียดของการนอนหลับมีหลายระดับ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การตรวจการนอนหลับสามารถตรวจได้ทั้งที่โรงพยาบาล และ ศูนย์ตรวจการนอนหลับ โดยเราจะต้องไปนอนตรวจตอนกลางคืนที่สถานที่นั้นๆ (ยกเว้นแต่ผู้ที่ติดนิสัยนอนตอนกลางวัน เช่น คนที่ทำงานตอนกลางคืน จะสามารถตรวจตอนกลางวันได้)
ผลที่ได้จากการตรวจจะได้รับการแปลผลและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และมีความรุนแรงระดับไหน สามารถใช้ค่าที่ได้จากการตรวจในการวางแผนการรักษาและติดตามการรักษา เช่น ใช้ในการปรับแรงดันลมของเครื่อง CPAP เป็นต้น
- โรงพยาบาลของรัฐ สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วไป
ได้ ราคาประมาณ 9,000 – 10,000 บาท หากเป็นข้าราชการ
ข้าราชการบำนาญ และรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าตรวจตาม
กรมบัญชีกลางได้ 7,000 บาท ส่วนสิทธิประกันสังคมสามารถเบิก
ได้ตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลที่เราทำประกันตน - โรงพยาบาลเอกชน ราคาจะสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่สะดวก
ไม่ต้องรอคิวนาน ราคาประมาณ 12,000 – 25,000 บาท - ศูนย์ตรวจการนอนหลับ ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ
โดยเฉพาะ ไม่ต้องรอคิวนาน ราคาประมาณ 9,900 – 12,000 บาท
การตรวจการนอนหลับยังสามารถตรวจที่บ้านได้ เรียกว่า home sleep test การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายหรือเดินทางได้ลำบาก หรือในผู้ที่ไม่อยากนอนตรวจในสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน
การตรวจ home sleep test จะมีการตรวจวัดค่าที่น้อยลง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อตรวจคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นหลักจึงไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการนอนหลับชนิดอื่นๆได้
วิธีรักษานอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เราควรรีบรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับเพื่อหยุดยั้งผลกระทบต่อร่างกาย การรักษามี 3 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่
1. การรักษานอนกรนโดยใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Continuous positive airway pressure, CPAP)
เครื่อง CPAP คือเครื่องมือดันอากาศผ่านหน้ากากเข้าไปในช่องคอ เพื่อเปิดทางเดินของลมที่ตีบแคบลงขณะที่เรานอนหลับ คนนอนกรนที่ใส่เครื่อง CPAP จะหายใจได้โล่งสบายตลอดทั้งคืนโดยไม่มีภาวะหยุดหายใจและยังไม่มีเสียงกรนให้รำคาญคนข้างๆอีกด้วย
การรักษาชนิดนี้ได้รับการยอมรับให้เป็นแนวทางการรักษาหลักโดยแพทย์ทั่วโลก การใช้ CPAP ให้ได้ผลดีและปลอดภัยควรจะได้รับการตั้งค่าและดูแลโดยแพทย์และทีมงานที่เชี่ยวชาญ โดยเลือกหน้ากากที่เหมาะสมกับรูปหน้าและตั้งค่าเครื่อง CPAP ที่ถูกต้องกับสรีระ เราจะใส่ CPAP ได้อย่างสบาย ไม่รู้สึกอึดอัดหรือแรงดันลมแรงกลางดึก และสามารถให้เครื่อง CPAP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
2. การรักษานอนกรนโดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรม (Oral appliances)
เครื่องมือทางทันตกรรมคือเครื่องมือที่ใส่ในช่องปากขณะนอนหลับ
เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง
โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่สามารถใช้ CPAP ได้ เครื่องมือทางทันตกรรมมี 2 ประเภท คือ
- 2.1 เครื่องมือที่ดึงกรามล่างออกมาด้านหน้า (Mandibular advancement devices, MADs)
เพื่อให้ช่องลมบริเวณลำคอกว้างขึ้น ทำให้ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้น
และยังช่วยในผู้ที่มีการนอนกัดฟันได้ - 2.2 เครื่องมือที่ดึงลิ้นออกมาทางด้านหน้า (Tongue retaining devices, TRDs)
เนื่องจากสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือ
การที่ลิ้นหย่อนไปด้านหลัง การดึงลิ้นออกมาทางด้านหน้าจึงช่วยแก้อาการได้
3. การรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดมีจุดประสงค์หลักคือแก้ไขความตีบแคบของช่องคอเพื่อลดการตีบแคบขณะหลับ เช่น การตัดเนื้อเยื่อบริเวณลำคอส่วนหลัง ได้แก่ ลิ้นไก่ เพดานอ่อน ต่อมทอลซิล สำหรับในผู้ใหญ่แล้ว การผ่าตัดจะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น เช่น การใส่ CPAP หรือเครื่องมือทางทันตกรรม
ส่วนในเด็กการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักใช้วิธีการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอดินอยด์ที่โตออก เพราะสามารถรักษาได้ผลดีมาก
บทสรุป
การนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและในปัจจุบันนอนกรนเป็นเรื่องที่รักษาได้ง่ายมากด้วยการใส่ CPAP หากใครที่รู้ว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวนอนกรน แนะนำให้รีบมาตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อวางแผนการรักษา นอกจากเราได้สุขภาพการนอนที่ดีกลับมากแล้ว ยังทำให้มีจิตใจแจ่มใสสติปัญญาเฉียบแหลม ไม่มีโรคเบาหวาน ความดันถามหา และได้ชีวิตครอบครัวที่หวานชื่นกลับมาอีกด้วย