ความจำเสื่อมกับการนอนกรน

กรมสุขภาพจิตเผยขณะนี้พบผู้สูงวัยไทยสมองเสื่อมกันมากถึง 8 แสนกว่าคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ #การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดำเนินโรค และในปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงวิธีต่าง ๆ ในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลชัดเจน

หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ฉบับออนไลน์รายงานผลการวิจัยล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสเอนเจลีสหรือ UCLA พบว่า #ปัญหาการนอนกรนและหยุดหายใจระหว่างหลับนั้นมีความสัมพันธ์กับการหดตัวลงไปของสมองส่วนที่ใช้เก็บความจำ

“ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องการหายใจผิดปกติระหว่างนอนหลับนั้นอาจนำไปสู่ความเสียหายที่สมองและมีผลต่อความจำและการใช้ความคิด” หัวหน้านักวิจัย โรนัลด์ ฮาร์เปอร์ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาประจำที่โรงเรียนแพทย์ เดวิด เก็ฟเฟน ของมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอกล่าว

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนกรนนั้นมักจะมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจระหว่างหลับที่ทำให้หลับ ๆ ตื่น ๆ อยู่บ่อยระหว่างคืน และมักทำให้ #มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังในเวลากลางวัน นอกจากนี้แล้วยังทำให้ #มีปัญหาเรื่องความจำและการตั้งใจจดจ่อตามมาอีกด้วย

โดยก่อนหน้านี้มีผลการวิจัยออกมาว่าการนอนกรนนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจ และโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติอีกด้วย

ศูนย์ Sleep lab ที่ให้การตรวจการนอนหลับ (sleep test) ของคุณ เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687

บทความอื่นๆ

การเลือกหมอน สำหรับคนนอนกรน

มีใครที่ใช้หมอนใบเดิมตั้งแต่เด็กกันๆหรือเปล่าคะ ? อาจจะมีแต่คงน้อยแน่ๆใช่หรือไม่คะ เพราะร่างกายและสรีระของเราที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หมอนจำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมด้วย 

อ่านเพิ่มเติม
Shopping Basket