ซึมเศร้า อาการที่พบร่วมได้กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ซึมเศร้า อาการที่พบร่วมได้กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

โดย พญ.ศรัชชา เทียนสันติสุข จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน

ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับเป็นโรคการนอนหลับที่พบได้บ่อย สามารถพบความชุกของโรคนี้ในประชากรตะวันตกร้อยละ 24 ในเพศชาย และร้อยละ 9 ในเพศหญิง สำหรับการศึกษาในประเทศไทยพบความชุกของโรคนี้ร้อยละ 15.4 ในเพศชาย และร้อยละ 6.3 ในเพศหญิง โดยโรคนี้สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ และพบมากในช่วงวัยกลางคนถึงสูงอายุ หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

อาการที่พบได้บ่อยในภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ ได้แก่ อาการนอนกรน อาการง่วงมากกว่าปกติในช่วงเวลากลางวัน ปวดศีรษะ ปากแห้งตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ซึ่งหากคนไข้มีอาการดังกล่าว และสงสัยว่าจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยตรวจ​การ​นอน​กรน เพื่อประเมิน และทำการรักษาต่อไป

เป็นที่ทราบกันดีว่าภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ สามารถมีโรคร่วม และมีภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายได้หลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง ทางด้านจิตใจเองก็เช่นกัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถพบร่วมกับภาวะซึมเศร้า โดยจากการศึกษาของต่างประเทศพบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจในขณะหลับสูงถึงร้อยละ 15-56 เมื่อเทียบกับความชุกของภาวะซึมเศร้าในประชากรทั่วไปที่ร้อยละ 6.6 และยังมีการศึกษาทางพยาธิสรีรวิทยาที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะหลับว่าอาจเป็นผลกระทบจากการรบกวนในวงจรการนอนหลับ และการตื่น รวมถึงภาวะออกซิเจนต่ำในขณะนอนหลับ

การไม่ได้รักษาภาวะซึมเศร้า ที่เกิดร่วมกับภาวะ อย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่คุณภาพการนอนหลับที่ลดลง ความเสี่ยงต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงความสามารถในการทำงาน และคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ลดลง การดูแลรักษาแบบเป็นองค์รวมโดยสหสาขาวิชาชีพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ศูนย์ตรวจ และรักษาภาวะนอนกรน และการนอนหลับที่ผิดปกติของเรา ดำเนินการโดยแพทย์ผู้ชำนาญการคุณวุฒิ ยินดีให้บริการ และพร้อมให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหานอนกรน แก้อาการนอนกรน ผู้หญิง-ผู้ชาย พร้อมบริการรักษาภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) โดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP), บริการตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ (sleep test) แบบ Full sleep test (ให้การตรวจการนอนหลับ) และแบบ Home sleep test (ให้การตรวจการนอนหลับที่บ้าน) พร้อมรักษาโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น โรคนอนไม่หลับ นอนละเมอ ง่วงหลับเวลากลางวัน โดยแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Sleep Medicine และเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพ และเป็นกันเอง ในบรรยากาศที่พักส่วนตัวที่เงียบสงบ และร่มรื่น

กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์
ศูนย์ตรวจรักษาภาวะนอนกรน และนอนไม่หลับ
เพื่อให้การนอนของคุณ เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง

โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687

บทความอื่นๆ

การเลือกหมอน สำหรับคนนอนกรน

มีใครที่ใช้หมอนใบเดิมตั้งแต่เด็กกันๆหรือเปล่าคะ ? อาจจะมีแต่คงน้อยแน่ๆใช่หรือไม่คะ เพราะร่างกายและสรีระของเราที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หมอนจำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมด้วย 

อ่านเพิ่มเติม
Shopping Basket