คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

Sleep Test
Sleep Test

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

ไขข้อสงสัย เกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
คืออะไร จำเป็นแค่ไหนสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาอาการกรน

ภาวะนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สามารถบั่นทอนสุขภาพในการนอนหลับจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เพราะฉะนั้นแล้ว การเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ที่สามารถช่วยวิเคราะห์การทำงานของร่างกายในขณะที่กำลังนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาการนอนไม่หลับสามารถค้นพบเหตุแห่งโรค และมองหาแนวทางในการรักษาได้อย่างทันท่วงที

โดยในบทความนี้ กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ จะขอพาผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจการนอนกรน (Sleep Test) ทุกท่านไปพบกับ 10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ดังนี้

Sleep Test

คำถามที่พบบ่อยในการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

1.ทำไมต้องตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นการตรวจวิเคราะห์ และหาความปกติเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้ทีมแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยโรคต่างที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ อาทิ โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อในบริเวณต่าง ๆ เพื่อการประเมินระดับความรุนแรงของโรค ร่วมกับการวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

2.วิธีการตรวจ Sleep Test เป็นอย่างไร
ในการตรวจ Sleep Test ทางทีมแพทย์จะทำการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ และติดตามความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในขณะนอนหลับ ร่วมกับการบันทึกวิดีโอในขณะที่ผู้ที่เข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) นอนหลับเพื่อสังเกตท่าทางในการนอน และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ

3.การตรวจ Sleep Test ต้องทำที่ไหน
การตรวจ Sleep Test แบบสมบูรณ์ (Full Sleep Test ระดับที่ 1) ซึ่งเป็นการตรวจแบบที่ละเอียดที่สุด และมีเจ้าหน้าที่ตรวจเฝ้าสัญญาณการนอนตลอดทั้งคืน จะทำการตรวจทึ่ศูนย์กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ส่วนการตรวจชนิดที่มีความละเอียดรองลงไป เช่น ระดับที่ 2 หรือ 3 สามารถตรวจได้ที่บ้าน โดยในระดับที่ 2 จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดอุปกรณ์ให้ที่บ้าน แต่ไม่ได้เฝ้าสัญญาณการนอน และในระดับที่ 3 สามารถรับเครื่องตรวจ Sleep Test จากที่ศูนย์ฯ นำไป ติดตั้งอุปกรณ์ด้วยตัวเอง

4.ในการตรวจ Sleep Test สามารถนำชุดเครื่องนอน และหมอนมาเองได้ไหม
สามารถทำได้ โดยการเตรียมชุดนอน หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตาตัวโปรด หรือหนังสือสักเล่มมาจากที่บ้านจะช่วยทำให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) สามารถนอนหลับได้อย่างสนิท และผ่อนคลายเหมือนกับการนอนอยู่บนเตียงที่บ้าน ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ในการตรวจ Sleep Test ที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

5.การตรวจ Sleep Test ใช้เวลานานเท่าไหร่
โดยทั่วไปแล้ว การตรวจ Sleep Test จะใช้ระยะเวลาในการติดอุปกรณ์ตรวจประมาณ 45 – 60 นาที ก่อนเวลาเข้านอน โดยหลังจากนั้นทางทีมแพทย์จะให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจการนอนหลับตามเวลาที่นอนหลับเป็นประจำ และเริ่มการตรวจวัดผลไปจนถึงเวลาประมาณ 05.30 – 6.00 น.

Sleep Test

6.การตรวจ Sleep Test จะมีการตรวจวัดผลอะไรบ้าง
การตรวจ Sleep Test จะมีการตรวจวัดผลเกี่ยวกับคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา การเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้อง อัตราการเต้นของหัวใจ รูปแบบการหายใจเข้า-ออก ระดับออกซิเจนในเลือด ท่าทางในการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของแขน และขา รวมถึงเสียงกรนและพฤติกรรมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ

7.สามารถรู้ผลการตรวจ Sleep Test ได้เร็วแค่ไหน
ผู้ที่เข้ารับการตรวจ Sleep Test สามารถทราบผลตรวจเบื้องต้นได้ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน โดยหลังจากนั้นทางทีมแพทย์จะทำการนัดหมาย เพื่อเข้ามาฟังผลการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

8.ประกันสุขภาพครอบคลุมการตรวจ Sleep Test หรือไม่
สิทธิประกันสุขภาพของแต่ละบริษัทจะมีความคุ้มครองในส่วนของค่าใช้จ่ายในการตรวจ Sleep Test ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้ที่ต้องการตรวจ Sleep Test จึงควรศึกษาเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง เพื่อผลประโยชน์ในการเบิกจ่ายค่าตรวจการนอนหลับที่มีความครอบคลุมมากที่สุด

9.ประกันสังคมใช้สิทธิตรวจ Sleep Test ได้หรือไม่
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สามารถใช้สิทธิเบิกค่าตรวจ Sleep Test แบบสมบูรณ์ระดับที่ 1 ซึ่ง มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะตรวจ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 7,000 บาท รวมถึงสามารถเบิกค่าตรวจ Sleep Test ระดับที่ 2 หรือ ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะตรวจ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 6,000 บาท ประกันสังคมจะไม่สามารเบิกค่าตรวจ Sleep Test ระดับที่ 3 ได้

10.การตรวจ Sleep Test เกี่ยวอะไรกับการรักษาภาวะนอนกรน
การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจสามารถรับรู้ถึงระดับความรุนแรงของภาวะนอนกรน ที่มักจะเกิดขึ้นควบคู่กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และตรวจหาค่าความดันที่เหมาะสมสำหรับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP เพื่อให้ใช้งานเครื่อง CPAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ศูนย์ตรวจ และรักษาภาวะนอนกรน และการนอนหลับที่ผิดปกติ บริการรักษาภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) โดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) บริการตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ (Sleep Test) แบบ Full Sleep Test (ให้การตรวจการนอนหลับ) และแบบ Home sleep test (ให้การตรวจการนอนหลับที่บ้าน) และรักษาโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น โรคนอนไม่หลับ นอนละเมอ ง่วงหลับเวลากลางวัน ดำเนินการโดยแพทย์ผู้ชำนาญการคุณวุฒิ American Academy of Sleep Medicine ในสถานที่ และบรรยากาศของ sleep lab ให้แตกต่างจากสถานที่ตรวจแบบดั้งเดิม ที่ดูเป็นทางการเหมือนโรงพยาบาล โดยเน้นสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว และทำให้ความรู้สึกสบายใจ เพื่อให้คุณรู้สึกเหมือนมาพักผ่อนมากกว่ามาตรวจหาโรค ให้คุณผ่อนคลายในบรรยากาศที่พักส่วนตัวที่เงียบสงบ และร่มรื่น

กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์
ศูนย์ตรวจรักษาภาวะนอนกรน และนอนไม่หลับ
เพื่อให้การนอนของคุณ เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง

โทรปรึกษา 064-649-1919, 02-089-8687

บทความอื่นๆ

ปวดหัวหลังตื่นนอน

อาการปวดหัวหลังตื่นนอน เป็นๆหายๆ ที่มองข้ามไม่ได้

การตื่นนอนในตอนเช้าอย่างสดชื่นนั้น จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันที่ดี หากเราเริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาการปวดหัวแล้ว อาจทำให้เช้านั้นกลายเป็นวันที่แย่

อ่านเพิ่มเติม

นอนหลับเยอะ ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น เกิดจากอะไร

ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นเกิดจากอะไร? ทุกคนเคยเป็นกันไหมว่า ตื่นนอนแล้วร่างกายไม่สดชื่นเอาซะเลย นอนก็มากกว่า 6 ชมแล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Shopping Basket